RedSea Refractometer กล้องวัดความเค็มที่ไม่เหมือนใคร

เป็นกล้องที่ใช้วิธีคำนวนค่าความเค็มตามน้ำทะเลจริง
อ่านค่าได้ง่ายและเส้นมีความคมมาก
ไม่มี น้ำ RO/DI แถมมาให้เพื่อใช้ Calibrate กล้อง
เป็นกล้องที่ Sensitive ต่ออุณหภูมิ ต้อง Calibrate กล้องก่อนใช้ทุกครั้ง
กล้องวัดความเค็มที่เรานำมา Review ในครั้งนี้เป็นสินค้าใหม่จากทาง RedSea ซึ่งเป็นกล้องที่ใช้วัดน้ำทะเลจริงๆ ต่างจากกล้องวัดความเค็มที่ขายในท้องตลาดทั่วไป ก่อนอื่นเราขออธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวัดความเค็มก่อนครับ
กล้องวัดความเค็มทั่วไป ภาษาอังกฤษเราเรียกว่า Brine Refractometer
กล้องตัวนี้จะเป็นกล้องที่เราใช้วัดค่า NaCl หรือปริมาณ Sodium Chroride ในน้ำ ซึ่งวัดเกลือนั้นเอง
การวัดความเค็มจริงๆแล้วกล้องที่เราใช้นั้นจะเป็นการวัดค่าหักเหของแสงของวัตถุที่เรานำมาใช้วัดนั้นเอง
ซึ่งทำให้กล้องวัดความเค็มทั่วๆไปเมื่อนำมาวัดน้ำทะเลแล้วจะมีการเพี้ยนของค่าได้ราวๆ 1.5 ppt และยังมีการเพี้ยนเรื่องของอุณหภูมิได้อีกราวๆ 1.5 ppt เลยทีเดียว
กล้องวัดความเค็มของ RedSea ภาษาอังกฤษเราเรียกว่า Sea water Refractometer
กล้องตัวนี้จะใช้วัดน้ำทะเลจริงๆ ซึ่งมีปริมาณแร่ธาตุมากกว่า 40 ชนิด ทำให้การหักเหของแสงนั้นแตกต่างกันกับ กล้องวัดความเค็มปกติ เท่าที่ผมทราบในตอนนี้ กล้องประเภท Sea water Refractrometer มีอยู่ 2 ค่ายที่ทำนั่นคือ D-D Aquarium Solution และ RedSea นั้นเอง
กล้องของ RedSea ได้ใช้ Algorithm หรือการคำนวนค่า S.G ที่ 25 องศา นั่นคือ ที่ 35 ppt นั้น เราจะอ่านค่า S.G ได้ที่ 1.025 (ค่าจริง 1.0248)
แต่ถ้าใช้กล้องประเภท Brine Refrectometer เราจะอ่านค่า S.G ที่ 25 องศา ที่ 35 ppt นั้นเราจะอ่านค่า S.G ได้ที่ 1.026-1.027 (ค่าจริง 1.0257)
ภาพจากกล้องของ RedSea จะเห็นว่า ที่ 35 ppt เราจะอ่าน S.G ได้ 1.025
ลองดู Scale ฝั่ง 0 ppt ของทาง RedSea จะเห็นว่า ที่ 0 ppt = 0.997
ดังนั้นการ Calibrate ต้องทำที่ฝั่ง ppt เป็น 0 ดังภาพด้านล่างนี้ครับ
กล้องวัดความเค็มทั่วไป ที่ 35 ppt ที่ 35 ppt เราจะอ่าน S.G ได้ 1.026-1.027
จากการใช้งานพบว่ากล้องของ RedSea ค่อนข้างจะ Sensitive กับอุณหภูมิห้องมากกว่าปกติ เราจึงได้สอบถามไปยังผู้ผลิตจากต่างประเทศ ได้รับคำตอบว่าเราจำเป็นที่จะต้อง Calibrate กล้องก่อนการใช้งานทุกครั้งโดยใช้น้ำ RO หรือ DI ครับ ซึ่งตามในคู่มือแนะนำว่าให้ Calibrate ที่อุณหภูมิห้อง 25 องศา ซึ่งจะค่อนข้างลำบากมากสำหรับประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามสามารถ Calibrate ที่อุณหภูมิห้องปกติได้ครับไม่ต้องกังวลมากนัก (อ้างอิงจาก Dr.Randy Holmes Farley)
การเพี้ยนของค่าความเค็มมีผลอะไรกับปะการัง ?
การที่ค่าความเค็มเพี้ยนไป 1 ppt ทำให้ค่า Ca ตอนตีเกลือลดลงได้ราวๆ 17 ppm และ Mg ลดลงได้ถึง 40 ppm ต่อ 1 ppt เลยทีเดียว
บางครั้งข้างถังเกลือเขียนว่า ที่ 35 ppt ได้ Ca ที่ 400 แต่พอตีเกลือออกมา วัดได้ 380 นั่นเป็นเพราะ ค่าความเค็มที่น้อยลงจากการใช้กล้องประเภท Brine Refractometer นั้นเอง ดังนั้นค่าแร่ธาตุในเกลืออาจจะไม่ได้น้อยลงกว่ามาตรฐาน แต่เป็นค่าความเค็มนั่นเอง
อย่าลืม Calibrate กล้องก่อนใช้ทุกครั้งนะครับ เนื่องจากกล้อง RedSea ค่อนข้าง Sensitive กับอุณหภูมิค่อนข้างมาก
จุดนึงที่ผมชอบมากคือ Scale ที่สั้น เพียงแค่ 40 ppt ทำให้อ่านได้ง่ายมาก อีกทั้ง RedSea ใช้เลนส์ที่ใสพิเศษให้ความคมของเส้นได้คมมากไม่เบลอเลยแม้แต่นิดเดียว จากการใช้งานพบว่า เมื่อ Calibrate ที่อุณหภูมิห้องปกติ และนำไปใช้วัดความเค็ม พบว่ากล้องทั่วๆไปวัดความเค็มได้ที่ 37 ppt แต่กล้องของ RedSea วัดออกมาได้ที่ 35 ppt ซึ่งเป็นไปตามที่ทาง RedSea ได้แจ้งมาว่ามี Error Rate จากกล้องปกติที่อ่านค่ามากไป 1.5 ppt ซึ่งทำให้เราทำความเค็มในตู้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น มีผลกับสีและการเจริญเติมโตกับปะการังบางประเภท
สินค้ามีจำหน่ายที่ร้าน
Qiun Hu pet family JJ Mall ชั้น 1 ใกล้ๆร้าน Daily Queen
ร้าน Atlantis JJ Mall ชั้น 2