ตั้งแต่เลี้ยงปลาทะเลวันแรก จะได้เห็นตัวแปลกๆมากมายแหวกว่ายอยู่ในตู้ตอนเซ็ตตู้ใหม่ๆหลายๆคนอาจจะไม่ รู้ว่าคือตัวอะไร แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร บอกแต่ว่ามีประโยชน์และมันกินอะไรล่ะ.. สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เราจะเรียกว่า Pod ซึ่งจะพบได้ในตู้ปลาทะเลของเรา หลายคนอาจจะสงสัยกันบางคนนึกว่าให้โทษก็ตกใจถามกันให้วุ่น
(Amphipoda)
เกริ่นนำ
แอมพิพอดเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอยู่ใน Order ของ Amphipoda Class Crustacea ซึ่งมีอยู่ในทะเล แม่น้ำ หรือแม่แต่ตามชายหาด มีขนาดตั้งแต่ 1 ถึง 140 มิลลิเมตร หรือ 0.039 ถึง 5.5 นิ้วในขนาดความยาว … มีลักษณะเหมือนกุ้ง
คำว่าแอมพิ (amphi) มาจากภาษาลาตินยุคใหม่ หมายถึง ทำได้ทั้งสองอย่าง ส่วน พอด podos แปลว่าขา นั่นเพราะว่า ขาของมันสามารถใช้เดิน กระโดด หรือว่ายน้ำได้ บางครั้งอาจจะใช้ในการกินอาหาร
แอมพิพอดส่วนใหญ่จะพบได้ในทะเล แอมพิพอดที่อยู่ในทะเลส่วนใหญ่มี 3 ประเภท
Pelagic amphipod คืออาศัยอยู่ตามแนวปะการัง จะถูกล่าเป็นอาหารโดยสัตว์ในทะเลเช่นปลา หรือปะการัง
benthic amphipod จะพบในน้ำลึกมากกว่า 9 กิโลเมตร
sand fleas amphipod จะพบได้ตามชายหาด
แหล่งที่อยู่และวงจรชีวิต
หลายๆสปีชีส์ของ pelagic amphipod จะเป็นประเภท parasitic ซึ่งอาศัยอยู่กับแมงกระพรุนและ Slap (อันนี้ผมไม่รู้ภาษาไทยเขาเรียกว่าอะไรอ่ะใครรู้ช่วยเสริมหน่อยครับ)ตอนยัง เป็นตัวอ่อน
มีบางสปีชีส์ของที่อาศัยอยู่โดดๆ หรือเราเรียกว่า planktonic amphipod ซึ่งจะกิน Copepod เป็นอาหารให้แก่ เราเรียกว่า amphipod พวกนี้เป็น zooplankton ก็ว่าได้
ลักษณะทางกายภาพและวงจรชีวิต
แอมพิพอดมีลักษณะทางกายภาพเหมือนกุ้ง โดยที่ส่วนหัวจะมีหนวดและตาสองข้างแต่ในบางตัวที่อยู่ในถ้ำจะไม่มีตา ส่วนชนิดที่พบในน้ำลึกอาจจะมีตาจำนวน 4 ข้าง ข้างบน 1 คู่และส่วนล่างอีก 1 คู่ แอมพิพอดส่วนใหญ่จะมี ขาทั้งหมด 8 คู่ คู่แรกจะเป็นส่วนหลักของแอมพิพอดซึ่งใช้ในการป้อนอาหารเข้าสู่ปาก ส่วนคู่ที่ 2 และ 3 จะมีขนาดใหญ่กว่าคู่หน้าใช้ในการค้นหาอาหาร ส่วนคู่อื่นๆไม่ได้เจาะจงว่าใช้ทำอะไรเนื่องจากแอมพิพอดส่วนใหญ่ใช้ในการ กระโดด ว่ายน้ำหรือเดินแต่แอมพิพอดแต่ละชนิดก็ไม่ได้ใช้ขาของมันตามนี้เสมอไปเนื่อง จากเรากำลังพูดถึงแอมพิพอดจำนวน 70000 ชนิดที่อยู่ในทะเล อาจจะมีบางกลุ่มที่มีนิสัยต่างกันออกไปซึ่งจะมาเจาะลึกอีกทีในเรื่อง Order ของมัน
amphipod เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตร จนถึง 20 มิลลิเมตร ชนิดที่พบกันบ่อยๆชื่อว่า Talitrus sylvaticus อาจจะมีความยาวถึง 8 มิลลิเมตร ส่วน T. specificus จะมีขนาดที่ 7 มิลลิเมตร และ Talitroides allaudi มีขนาดที่ 3.5 มิลลิเมตร แต่ละสายพันธุ์อาจจะมีสีสันแตกต่างกันออกไป ที่พบในทะเลส่วนใหญ่จะมีสีขาวใสๆ แต่ในที่อื่นอาจจะมีตั้งแต่สีน้ำตาล เข้ม น้ำตาลอ่อน หรือบางชนิดออกสีเขียวนิดๆ แต่มันจะกลายเป็นสีแดงเมื่อมันตาย…
ไข่ ของแอมพิพอดจะอยู่ที่บริเวณถุงเล็กใต้ท้องด้านล่างของเพศเมีย ไข่จะฟักตั้งแต่ 1 -3 อาทิตย์ แอมพิพอดจะวางไข่หลังจากได้รับการผสมพันธุ์หลังจาก 1 – 8 วัน โดยการลอกคราบ การลอกคราบเพื่อวางไข่นั้นอาจจะใช้เวลาถึง 1 ชั่วโมง และการฟักตัวเปลี่ยนจากไข่ไปเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาถึง 1 ปี
หลายๆสปีชีส์วางไข่แค่ครั้งเดียว แต่มีบางชนิดเช่น Hyalella azteca, เพศเมียสามารถวางไข่ได้ถึง 15 ครั้งในรอบ 5 เดือน โดยสปีชีส์ชื่อ Hyalella azteca จะใช้ในการตรวจสอบว่า สภาพน้ำทะเลในตอนนั้นเป็นอย่างไร
รู้จักแอมพิพอดแล้วมันมีประโยชน์อย่างไรกับตู้ปลาล่ะ ?
ประโยชน์ของแอมพิพอดในตู้ปลาทะเลนั้นคือเป็น zooplankton ให้แก่ปะการังและช่วยย่อยสลายสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วและรวมถึงรักษาสมดุลของ Copepod ในตู้ปลาทะเลนั้นเอง Rotifer เป็นอาหารให้แก่ Copepod ส่วน Copepod จะเป็นแหล่งอาหารให้แก่ Amphipod อีกทีนึง ส่วน Amphopod จะเป็นอาหารให้แก่ SPS และปลาบางชนิดอีกทีนึง
(Starkweather, 1980a).
ปล. ขอเสริมนิดนึงมีบางบทวิจัยว่า สาหร่ายสีน้ำตาลหรือที่เราเรียกว่าไดอะตอมนั้นจะถูก Copepod กินเป็นอาหารด้วย
อย่าลืมว่าสิ่งสำคัญที่สุดของการเลี้ยงตู้ทะเลคือการจำลองระบบนิเวศน์ให้ใกล้เคียงของจริงมากที่สุด…