ชื่อไทย: ผีเสื้อนกกระจิบ, ผีเสื้อจมูกยาว
ชื่อสามัญ: Beaked coralfish, Copperbanded Butterflyfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Chelmon rostratus (Linnaeus, 1758)
เขตการกระจายพันธุ์: พบทั่วไปในฝั่งทะเลอันดามัน และชุกชุมในอ่าวไทย รวมไปถึงประเทศฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย พม่า สิงคโปร์ และญี่ปุ่น
ขนาด: โตเต็มที่ราว 20 ซม. (7.8 นิ้ว)
อุปนิสัย:
ปลาขนาดใหญ่มักปรับตัวได้ไม่ดีนัก ในขณะที่ปลาขนาดเล็กสามารถเลี้ยงได้ แต่ต้องให้อาหารอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรน้อยกว่าวันละสองครั้ง และไม่ควรใส่มากกว่าตู้ละหนึ่งตัวหากไม่ใช่ปลาที่จับคู่กันมา เพราะว่าอาจจะทำร้ายกันจนถึงตายได้ ปลาชนิดนี้ไม่กินอาหารสำเร็จรูป และยอมอดอาหารจนตาย อาหารควรให้เป็นไรทะเลล้างน้ำสะอาด หนอนแดง หอยลาย หรือกุ้งสับ สลับสับเปลี่ยนกันไป
มีประโยชน์ และได้รับความนิยมในการใช้กำจัดแอนนิโมนแก้ว (Aiptasia sp.) ในตู้ปะการัง เพราะเป็นปลาผีเสื้อที่ค่อนข้างปลอดภัยกับปะการัง และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ มาก สิ่งที่ควรระวังในตู้เป็นสัตว์จำพวกหนอน ซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติของมันแต่เดิม เช่น หนอนฉัตร หนอนท่อ ฯลฯ
หมายเหตุ:
- เป็นปลาผีเสื้อที่มักพบจำหน่ายในตลาดปลาสวยงามเสมอ โดยมากปลาที่ขายกันแทบทั้งหมดเป็นปลาทางฝั่งอ่าวไทย ส่วนน้อยที่นำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์ หรือจับจากฝั่งทะเลอันดามัน