การติดเชื้อของปลาในระบบปิด มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือ การนำปลาตัวใหม่เข้ามาในระบบซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่ง ปลาตัวใหม่อาจจะกลายเป็นภาหะนำโรคและปรสิตได้ เนื่องจากพวกที่อยู่เดิมอาจจะไม่มีภูมิต้านทาน ฉะนั้นการกักปลาใหม่ไว้เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อนั้นสามารถแก้ปัญหานี้ได้ในระดับหนึ่งและการกักปลานั้นยังทำให้คุณดูว่ามันจะอยู่ร่วมกันได้ไหมอีกด้วย แต่ถึงแม้เราจะทำการกักโรค แต่ปัญหาต่างๆก็อาจเกิดขึ้นได้ เหมือนสิ่งไม่คาดฝันที่เกิดได้เสมอ
การกักปลาไว้ในตู้กักก่อนลงตู้ ก็ไม่ได้หมายความว่าในตู้ทะเลจะไม่มีเชื้อโรคอยู่ หากเปรียบเทียบกับท้องทะเลนั้นตู้ทะเลของเราคับแคบเกินไปหากมีการติดโรคหรือปรสิตเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตามสัตว์น้ำทั้งหลายก็มีระบบภูมิต้านทานโรคเองอยู่แล้ว
หากเราให้การรักษาอย่างถูกต้องการติดเชื้ออาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะบางโรคสามารถรักษาได้
การเจ็บป่วยของปลาอาจเกิดจากอยู่กันแออัดเกินไป หรือการให้อาหารมากไป
จนของเสียในระบบมากเกินจนเกิดสารแอมโมเนียซึ่งเกินกว่าที่ความสามารถของระบบจะรับได้
อาการ New tank syndrome (ตู้ที่พึ่งตั้งใหม่ๆ ระบบกำจัดของเสียยังไม่เสถียรดี) สามารถก่อให้เกิดอาการเดียวกันได้ ซึ้งเกิดจากการ
สะสมของสารแอมโมเนีย ไนไตรหรือไนเตรดเกินกว่าระดับที่ทนทานได้
การติดเชื้อของปลาทะเล
วิธีทั่วไปที่จะดูว่ามีการติดเชื้อของปลา สามารถดูได้จากอาการที่แสดงออกมาภายนอก ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพ หรือว่าพฤติกรรมของปลา อาการบางอย่างนั้นสามารถเยียวยา หรือทำให้บรรเทาลงนั้นสามารถทำได้ง่ายในทันที
โดยผู้เลี้ยงปลาต้องจับปลาที่ป่วยออกมาเพื่อไม่ให้ปลาตัวที่เหลืออยู่ติดเชื้อด้วย ถ้าอาการติดเชื้อไม่สามารถสังเกตุเห็นจากตาเปล่าได้ จำเป็นต้องใช้การวินิจฉัย หรือใช้วิธีทดสอบโดยห้องทดลองเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ
ถ้าผู้เลี้ยง ไม่สะดวกที่จะทำการแยกปลาที่ป่วยมากักไว้ หรือว่าปลาที่ป่วยนั้นไม่สามารถที่จะจับขึ้นมาได้ มันก็จำเป็นที่จะต้องรักษาทั้งระบบ แม้การรักษาตัวเดียวจะง่ายกว่ามากก็ตาม มันก็มีความเป็นไปได้ที่ว่าปลาที่ไม่ได้ป่วยในระบบจะเกิดอาการติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการออกมาให้เห็น เมื่อเราจำเป็นต้องทำการรักษาทั้งระบบ หากเป็นตู้เลี้ยงปะการังแล้วละก็ การใส่ยาลงในตู้อาจจะทำให้ปะการังที่มีอยู่และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวก กุ้ง Pod และแบคทีเรียที่ช่วยสลาสของเสียในระบบมีปัญหาและอาจจะตายได้ เราจึงไม่นิยมใส่ยาลงตู้เลี้ยงเพื่อเลี่ยงปัญหาระบบล่มตามมา แต่อย่างไรก็ตามยารุ่นใหม่ๆบางชนิดสามารถใช้กับตู้ที่เลี้ยงปะการังได้แต่อาจจะมีผลข้างเคียงกับปะการังบางชนิด ทั้งนี้การใส่ยาลงตู้เลี้ยงปะการังเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง อาจจะเป็นทางเลือกขั้นสุดท้ายที่เลือกใช้ในการรักษาปลาทะเล
เมื่อปลามีอาการป่วย โปรดจำไว้ว่าอาการป่วยทั้งหมดไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ หรือปรสิตเท่านั้น อาการป่วยยังเกิดจากการที่มีสารพิษในน้ำซึ่งเกิดจาก การดูแลรักษาที่ไม่ดี หรือ เกิดจากการที่มีสารพิษแพร่จากอากาศไปสู่น้ำในระบบหรืออาการป่วยสามารถเกิดจาก ภาวะขาดแคลน อาหาร, อาการหวาดกลัว ,พันธุกรรม(โดยธรรมชาติ) ซึ่งไม่สามารถรักษาได้เช่น เนื้องอก หรือ กระดูกสันหลังคดงอ ฉะนั้นหากคุณสังเกตุไม่พบสัญญาณที่บอกว่าเป็นอาการติดเชื้อหรือเกิดจากพาราไซด์ ให้คิดว่าเกิดจากสาเหตุอื่นไปก่อน การเยียวยาที่ผิดจะทำให้ทุกอย่างแย่ลงเท่านั้น
การปรึกษาขอความช่วยเหลือจากผู้เลี้ยงที่มีประสบการณ์ เป็นทางออกที่ดีกว่า
Viral Disease โรคที่เกิดจากไวรัส
ไวรัสเป็น พาราไซด์ขนาดเล็กของเซลล์. ไม่สามารถสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่ได้
เป็นที่รู้กันว่าเป็นสาเหตุของโรคติดต่อจำนวนมาก แต่มีการศึกษาไวรัสในปลาน้อยมาก
Lymphocystis virus
เป็นสาเหตุทำให้เซลล์บวมอย่างผิดปกติแลtรวมตัวกันกลายเป็นก้อนเนื้อ
ตอนแรกจะดูเหมือนปุยขนหรือเชื้อรา ต่อมาจะดูคล้ายสาคูบนผิวหรือครีบปลา
และจะกลายเป็นปุ่มคล้ายดอกกระหล่ำขนาดประมาณครึ่งนึ้ว.
เราไม่มีวิธีรักษาอาการนี้ได้โดยตรง แต่ว่าอาการติดเชื้อจากไวรัสนี้ จะถึงจุดอิ่มตัวของมันเอง
อย่างไรก็ตามวิธีที่ดีที่สุดคือทำลายปลาที่ติดเชื้อก่อนที่มันจะนำเชื้อโรคไปติดตัวอื่นๆ
การติดเชื้อที่เส้นข้างลำตัวถูกคิดว่าเกิดจากไวรัส บางครั้งสามารถเยียวยาได้โดยเปลี่ยนสภาวะแวดล้อมหรือรักษาค่าน้ำให้ดี NO2 < 0.01 mg/l , NO3 < 2 mg/l
อาการนี้นานๆจะส่งผลกับปลามากกว่าหนึ่งตัวหรือสองตัว และดูเหมือนว่าอัตราการติดเชื้อจะต่ำ
อาการนี้ยังไม่มีวิธีเยียวยาได้โดยตรง. อาการติดเชื้อจะเริ่มจากหัวของปลา
และไล่ลงมาที่เส้นข้างลำตัวทำให้เส้นข้างลำตัวดูเปลี่ยนไป
การรักษา สามารถใช้ภูมิคุ้มกันของตัวปลาสามารถกำจัดไวรัสออกไปได้โดยรักษาสภาพแวดล้อมและค่าน้ำให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ อาการเหล่านี้มักจะหายเองได้ภายใน 1 เดือนถ้าค่าน้ำปกติดี และปลายังแข็งแรงกินอาหารได้เป็นปกติ
ภาพหลังจากการรักษาค่าน้ำให้เหมาะสมเป็นเวลา 3 อาทิตย์
Bacterial Diseases โรคติดต่อที่เกิดจากแบคทีเรีย
โรค Finrot (โรคเหงือกเปื่อยหางเปื่อย)
แบคทีเรียนั้นร้ายกว่าไวรัส และสามารถแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเองได้และยังเป็นสาเหตุให้ปลาป่วยได้หลายๆอย่าง.
เราไม่ค่อยมีโอกาศที่จะศึกษาเกี่ยวกับสปีชี่ของแบคทีเรียมากนักว่าชนิดไหนทำให้เกิดอาการอย่างไร
แต่เราสามารถวิเคราะห์จากประสบการณ์ว่าอาการนี้เกิดจากแบคทีเรียตัวไหนและจะรักษาอย่างไร
อาการเกล็ดพองออกสีแดงบนตัวปลาหรือบนครีบปลานั้นสามารถเปลี่ยนเป็นแผลเปื่อย
และทำให้ปลาต้องเสียครีบ เรายังเรียกอาการนี้ว่าหางเน่าหรือครีบเน่า อาการนี้โดยทั่วไปเกิดจากแบคทีเรีย Pasteurella , Vivrio
หรือ Pseudomonas (Aeromonas) ทั้งหมดนี้เราเรียกว่า Gram-negative และอาการนี้ไม่มีปฏิกิริยากับยาปฏิชีวนะ
การรักษาทั้งระบบสำหรับอาการนี้สามารถทำได้ และถ้าเราลงมือทำตั้งแต่เนิ่นๆ ให้ระบบสะอาด โดยชำระล้าง(ฆ่าเชื้อโรค)ด้วยยาเหลือง(Acriflavine,trypaflavine)หรือ Monacrin (กรดโมโนอมิโน) ก็ใช้ได้เหมือนกัน
วิธีรักษา
ให้เตรียมสารความเข้นข้น 0.2% ปริมาณ 1 ช้อนชา ต่อน้ำหนึ่งแกลลอน ละลายในน้ำสะอาดให้ทำซ้ำถ้ามีตะกอนสีเหลือหรือสีฟ้า ปกติจะทำทุกๆ 3 วัน ถ้าอาการติดเชื้อไม่หายไปในหนึ่งอาทิตย์ให้เปลี่ยนไปใช้วิธีอื่น จะดีมากหากไม่ใช้ Antibiotics ในระบบเป็นวิธีรักษา เพราะว่ามันไม่ค่อยได้ผลในน้ำเค็ม แต่สามารถใช้มันได้โดยเราจะผสมมันลงในอาหารแทนในอัตรา ส่วน 1%. Chloromycetin , neomycin หรือ gentamycin ทั้งสามนี้สามารถรักษาอาการนี้ได้
อาหารที่เหมาะจะเอามาผสมกับยาที่สุดคือ Flake แต่ไม่ว่าอะไรก็ตามหากปลายอมกินก็ถือว่าใช้ได้แล้ว.
การให้อาหารผสมยานั้นต้องให้สองครั้งต่อวัน.
ถ้าปลาไม่ยอมกินเราก็จำเป็นที่ต้องทำการรักษาทั้งระบบแทน แต่ถ้าทำแล้วได้ผลน้อยก็ให้จับปลาที่ป่วยแล้วแยกออกมาทำการรักษาต่างหาก.
วิธี รักษาให้ปิดระบบกรองทั้งหมดแล้วเปิด Biological Filter วันละสองครั้ง ครั้งละครึ่งชั่วโมงรักษาปลาที่จับแยกออกมาโดยให้ยา 50 mg ต่อหนึ่งแกลลอน
และทำซ้ำทุกๆสองวัน. ให้เปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่น ถ้าทำการรักษาไปสามครั้งแล้วแต่ยังไม่เห็นผล
ยาสำเร็จรูปของ Prodibio
ปริมาณการใช้โปรดอ่านตามฉลาดที่ระบุ และไม่แนะนำให้ใส่ลงตู้ปะการัง ควรแยกออกมารักษาต่างหาก
โรคTuberculosis
ทำให้ปลาดูโทรม ท้องเป็นแอ่งบุม หางฉีกขาดและผิวหนังอักเสบหรือทำให้กระดูกสันหลังเสียรูป
การรักษานั้นทำได้ยากและควรพิจรณาใช้กับปลาที่สำคัญๆ
อาการเหล่านี้เกิดจากไมโครแบคทีเรีย Mycobacterium bacteria ซึ่งสามารถรักษาได้โดยวิธี Isoniazid
ทำได้โดยให้ปลากินยาปฏิชีวนะเข้าไป หรือใส่เข้าไปในน้ำโดยมีอัตราส่วน 50 mg ต่อน้ำหนึ่งแกลลอน และทำทุกๆสามวันในแต่ละครั้งที่ทำต้องถ่ายน้ำออก 25% การรักษาอาจต้องใช้เวลาถึง 2 เดือน ฉะนั้นควรทำควรใช้วิธีนี้กับปลาที่สำคัญๆ และควรใส่ใจกับความสะอาดและวิธีป้องกัน
* โรคนี้สามารถติดต่อสู่คนได้ โปรดระวัง
Dropsy(โรคบวมน้ำ)
จะทำให้มีอาการบวมบริเวณช่องท้อง
อาการนี้เกิดจาก Kidey Disease ซึ่งทำการสะสมในของเหลวภายในตัวปลา
อาการนี้ทำให้เกร็ดส่วนอื่นๆของปลา กระทั่งดวงตา ปูดยื่นออกมา
แต่ไม่ทำให้ติดเชื้อ แบคทีเรียที่มีส่วนเกี่ยวข้องคือ Coryne แบคทีเรีย
ซึ่งมีปฏิกริยากับยาปฏิชีวนะ(PenicillinและErythromycin)
เป็นแบคทีเรียชนิด Gram-positive
การรักษาแนะนำให้ทำการรักษาโดยการกินเข้าไป
หรือใช้วิธีผสมยาปฎิชีวนะลงในน้ำด้วยอัตราส่วน 50 mg ต่อน้ำ 1 แกลลอน
ทำซ้ำทุกๆ 2 วันและดูดน้ำออก 25% ทุกครั้ง
Chondrococcus columnaris ทำให้เกิดอาการ month fungus (การติดเชื้อราที่ปาก)
พบในปลาน้ำจืด, บางครั้งจะติดไปที่สัตว์ทะเล. อาการนี้จะก่อให้เกิดแผลสีเทาหรือขาวบนผิวและครีปปลา
ใช้วิธีรักษาเดียวกับอาการเกร็ดสีแดง
Protozoan diseases อาการติดเชื้อจากโปรโตซัว(ปรสิต)
ปรสิต เป็นสัตว์เซลล์เดียวบางครั้งจะมีขนาดใหญ่จนเห็นได้ด้วยตาเปล่า.
ปรสิตเป็นสาเหตุใหญ่ทำให้ปลาในตู้ทะเลติดเชื้อ(โรคสนิมหรือที่เราเรียกในวงการปลาทะเลว่า ออดิเนี่ยม และ จุดขาว)
ออดิเนี่ยม (Marine velvet)
เป็นอาการที่เราต้องระวังอยู่เสมอ และยังเป็นอาการที่ยากต่อการป้องกัน
ออดิเนี่ยม เป็นเหตุผลที่ใหญ่ที่เราต้องมีการกักปลาแยกไว้ เนื่องจากเมื่อมีการติดเชื้อปลาในตู้อาจจะไม่รอดหรือมีโอกาสรอดน้อยมาก
อาการที่เห็นจะคล้ายกับผงฝุ่นสีขาว อยู่ทั่วผิวของปลา
และทำให้ปลามีอาการหอบหายใจเร็ว รวมทั้งอาการเหงือกติดเชื้อ
และเอาตัวถูไปกับสิ่งของรอบตัวเพื่อลดอาการคัน.
ตัวต้นเหตุของอาการนี้คือ Amyl oodinium ocellatum ซึ่งสามารถว่ายไปในน้ำได้อย่างอิสระ
มันจะไปฝังตัวที่ปลาหรือที่เหงือกและทำลายเนื้อเยื่อ. ทำให้เกิดถุงน้ำฝังอยู่ภายในร่างกาย
และจะหลุดออกจากร่างกายภายในไม่กี่วัน โดยให้จะเกิดใหม่เป็นวัฐจักร
ซึ่งมันจะมีวงจรชีวิตประมาณ 10 วันในน้ำเขตร้อน.
วิธีรักษาที่ดีที่สุดคือ Copper sulphate (คอปเปอร์ซัลเฟต) หรือ Copper citrate (คอปเปอร์ไซเตรด)
ซึ่งสารทั้งสองหาได้ไม่ยาก แต่ปัญหาคือการผสมลงไปในน้ำทะเล.
อัตราส่วนที่ใส่เข้าไปนั้นต้องมีการระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะคอปเปอร์นั้นเป็นพิษต่อปลาไม่ต่างจากตัวปรสิตเอง
คอปเปอร์สามารถทำลายสาหร่ายและพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในน้ำได้.
ฉะนั้นควรย้ายสาหร่ายและพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังออกจากระบบก่อน
มันง่ายมากที่จะทำการรักษาทั้งระบบ
วิธีทำ ให้เตรียมสาร 1% ของ blue copper sulphate (อยู่ในลักษณะของแข๊ง) ในน้ำกลั่น
(ไม่ควรน้ำประปาจะทำให้เกิดการตกตระกอน) และใช้ปริมาณ 0.28 ml ต่อน้ำหนึ่งแกลลอน.
ซึ่งจะได้ 0.15 ppm metallic copper(เป็นปริมาณที่แนะนำให้ใช้).
แต่บางส่วนอาจจะเสียไปโดยเศษประการัง หรือ กรวดหิน อื่นๆ.
ฉะนั้นจะดีที่สุดหากมีการใช้ชุดตรวจคอปเปอร์(Copper kit). พยายามให้ได้ค่าอยู่ระหว่าง 0.12 – 0.18 ppm(mg/liter)
แต่ถ้าคุณไม่มีชุดตรวจให้ใส่คอปเปอร์ทุกๆสามวัน และคอยระวังการเกิดพิษ
อาการของพิษคือปลามีอาการหอบหายใจ ตะแขงข้างเดียวและอาการตาโปน.
ถ้าพบว่ามีอาการเป็นพิษให้เปิด Carbon Filter แต่ Biological Filter สามารถเปิดไว้ได้
ถึงแม้ว่าอัตรา copper จะลดลงต่ำกว่าช่วงที่แนะนำไว้. การรักษาต้องทำอย่างน้อย 10 วัน
แต่แนะนำให้รักษาต่อเนื่อง 2 สัปดาห์. ถุงน้ำบนตัวปลา จะไม่หายไป. แต่จะไม่มีอันใหม่เพิ่มขึ้นมา.
การเตรียมการจัดการกับ Copper , โดยทั่วไปแล้วสารประกอบคอปเปอร์จะติดอยู่เป็นเดือน
และยากต่อการกำจัดทึ้งจากระบบและยังยากต่อการควบคุมระดับความเข้มข้นในน้ำ.
เมื่อเราจะใช้ยารักษา ต้องคำนวณปริมาณของน้ำให้แม่นยำที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้.
มันเหมือนจะเป็นทฤษฏีที่จำเป็นเลยที่เดียว ทำได้โดยคำนวนขนาดตู้ลบด้วย
จำนวนของก้อนหินและทรายกับพื่นที่ว่างข้างบน แล้วนำไปคูณด้วย 0.95
แล้วนำค่านี้ไปใช้คำนวณปริมาณที่ต้องใช้
การกำจัด Copper ยังทำได้โดยการใช้ ถ่านคาร์บอน
White Spot (อาการจุดขาว)
ปลาที่เป็นโรคจุดขาวยังสามารถกินเก่งและว่ายได้อย่างแข็งแรง อาจจะไม่ต้องทำการรักษา สามารถหายด้วยภูมิคุ้มกันของตัวปลาเองได้ เมื่อปลามีสุขภาพที่แข็งแรงโดยมีค่าน้ำที่สะอาดและยังได้อาหารอย่างเพียงพอ
โรคจุดขาวเป็นอีกโรคติดต่อที่พบบ่อยมากเกิดจาก Cryptocaryon irritans.
ซึ่งจะทำให้มีจุดขาวใหญ่กว่า อาการของโรคออดิเนียม. และจะมองเห็นเหมือนหัวเข็มหมุดฝังเข้าไปในผิว,ครีบหรือในเหงือก.
ปรสิตตัวนี้สามารถว่ายในน้ำได้อย่างอิสระ ซึ่งวางไข่บนตัวปลา(ลักษณะเป็นถุงน้ำ). และจะหลุดออกจากตัวปลาในเวลาสั้น.
ปรสิตชนิดนี้เติบโตที่พื้นของระบบ.และจะว่ายอยู่ในน้ำอย่างอิสระ.
วิธีรักษาใช้วิธีเดียวกับวิธีรักษาเดียวกับโรคออดิเนียม.
และ White spot ยังสามารถใช้วิธีอื่นทำการรักษาได้โดยที่มีสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังรวมอยู่ด้วยได้โดยใช้ Quqnine(สารอัลลอยด์ ชนิดหนึ่ง). โดยอัตราส่วนที่แนะนำคือ Quqnine hydrochloride 2g หรือ Quqinine sulphate(ละลายได้น้อยกว่า) ต่อน้ำ 25 แกลลอน
และเปลี่ยนน้ำครึ่งหนึ่งในวันที่สาม และใส่ Quqinine ในอัตราส่วน 1/2. แนะนำให้เปลี่ยนน้ำออกครึ่งหนึ่งอีกครั้งในวันที่หก
และใส่ Quqinine ในอัตราส่วน 1/2 . ทำการรักษาต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผลที่ดีอีกครั้งในช่วง 10 วัน.
Sporazoa
เป็นปรสิตทำให้เกิดอาการติดเชื้อซึ่งรักษาไม่หายในปลาในเวลาไม่กี่วัน
โดยปลาทั้งหมดจะติดเชื้อตามกัน. อาการที่ติดเชื้อจากปรสิตตันนี้ที่พบบ่อยๆในตู้ทะเลคือ
1 Henneguya ก่อให้เกิด ถุงน้ำขนาดใหญ่ ค่อนข้างเหมือน Lymphocystis บนตัวปลา.
2 Plistophora ก็ก่อให้เกิด ถุงน้ำขนาดใหญ่ซึ่งบวมออกมาจากใต้ผิวหนัง
3 Glugea ก่อให้เกิดถุงน้ำในกล้ามเนื้อ.
ปลาทุกตัวที่ติดเชื้อแนะนำให้ทำลายทึ้ง
Uronema disease
เกิดจากเชื้อ Uronema marinum
มี อาการเลือดออกจากผิวหนังของปลา ตาขุ่น ปลามักเอาตัวถูกับหิน โดยปกติปลาที่ติดเชื้อนี้มักจะไม่รอดเนื่องจากมีอาการเหงือกเป็นแผลทำให้ หายใจลำบาก
การรักษา
ดิบน้ำจืดทุกวันสามารถช่วยได้ในระดับหนึ่ง
Tang turbellarian disease, black spot (โรคจุดดำ)
เกิดจากการติด Paravortex flatworms
ส่วนมากจะเกิดกับปลาจำพวก Tang ในขั้นแรกมีจุดดำๆเล็กๆในบริเวณครีบต่างๆและบริเวณตัวปลา ปลามักมีการเอาตัวถูกกับหินเป็นระยะๆ โรคนี้สามารถลุกลามระบาดไปยังปลาอื่นๆในตู้ได้
การรักษาสามารถทำได้โดย ดิบน้ำจืด แต่ หากปลาที่เป็นโรคจุดดำยังสามารถกินเก่งและว่ายได้อย่างแข็งแรง อาจจะไม่ต้องทำการรักษา สามารถหายด้วยภูมิคุ้มกันของตัวปลาเองได้ เมื่อปลามีสุขภาพที่แข็งแรงโดยมีค่าน้ำที่สะอาดและยังได้อาหารอย่างเพียงพอ
FUNGI เชื้อรา
เชื้อราเป็นพืชซึ่งขาดสารย้อมสีเขียว และขาดคอร์โลฟิวล์.
เชื้อราที่ทำให้ปลาทะเลติดเชื้อมากที่สุดคือ Ichthyosporidium (Ichthyophonus) hoferi
ซึ่งเป็นโรดติดต่อสำหรับปลาน้ำจืดเหมือนกัน. เชื้อราตัวนี้จะถูกกินเข้าไปพร้อมกับอาหารและปฏิกูล
ซึ่งจะแพร่เข้าสู่กระแสเลือด และไปรวมตัวอยู่ในตับ. มันจะกระจายไปทั่วในลักษณะคล้ายถุงน้ำ
ขนาด 1/10 นึ้ว. อาการที่เห็นคือปลาจะมีอาการเฉื่อยท้องเป็นหลุม และเสียการทรงตัว.
ภายหลังถุงน้ำจะเปลี่ยนจากสีเหลืองกลายเป็นสีน้ำตาล โผล่ขึ้นมาให้เห็นบนผิวหนัง.
การติดเชื้อตัวนี้จะไม่ฆ่าปลาในทันที ปลาที่ติดเชื้อไม่ควรเลี้ยงรวมอยู่กับตัวที่ยังไม่ติดเชื้อ
ไม่อย่างนั้นจะทำให้ปลาตัวอื่นติดเชื้อไปด้วย.
วิธีรักษานั้นยังไม่มีแน่ชัด แต่แนะนำให้ใส่
phenoxethol หรือ chloromycetin 1% ลงไปในอาหาร(ต้องกักตัวแยกออกมารักษา)
หรือจะให้ลงไปในระบบหลังจากแยกปลาที่ป่วยออกไปกักไว้แล้ว เพื่อป้องกันให้ตัวที่เหลือไม่ต้องติดเชื้อตาม