ชื่อไทย: หมอเหลือง
ชื่อสามัญ: Herald’s Angelfish, False Lemonpeel Angelfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Centropyge heraldi (Woods & Schultz, 1953)
เขตการกระจายพันธุ์: ทางตอนกลาง และฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก
ขนาด: โตเต็มที่ราว 12 ซม. (4.7 นิ้ว)
อุปนิสัย:
รักสงบ และค่อนข้างขี้อาย ว่ายไม่ไกลจากซอกหินเท่าไหร่นัก ความยากง่ายในการเลี้ยงขึ้นอยู่กับสภาพของปลาตอนได้มา สามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ ปลาจากบางแหล่งจะมีจุดตรงหน้าชัดเจน ในขณะที่บางแห่งแทบจะไม่มีเลย ปลาชนิดนี้ที่มีแถบสีดำบริเวณครีบหลัง ซึ่งเป็นปลาที่พบบริเวณที่เรียกกันว่าคอรัลซี ออกไปนอกชายฝั่งของประเทศออสเตเรีย เคยถูกบรรยายเป็นปลาชนิดใหม่ภายใต้ชื่อ C. woodheadi
หมายเหตุ:
- ปัจจุบันเมืองไทยสามารถทำให้ปลาปลาชนิดนี้ออกไข่ได้แล้วในที่เลี้ยง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงตัวอ่อน
- ปลาชนิดนี้ถูกเลียนแบบโดยลูกปลาขี้ตังเบ็ด ที่เรียกกันในตลาดปลาสวยงามว่าเยลโล่แทงค์อินโด (Acanthurus pyroferus) ซึ่งเมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนสีสันจนแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
- มีรายงานการพบลูกผสม ที่คาดว่าน่าจะเป็นคู่ผสมของปลาชนิดนี้กับหมอม่วง (Centropyge bispinosus) จากประเทศฟิลิปปินส์